ขุนสมุทรมณีรัตน์
ขุนสมุทรมณีรัตน์ เดิมชื่อ เม่งฮะ นามสกุล มณีรัตน์
เกิดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พุุทธศักราช 2422
ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ปีเถาะ
เป็นบุตรของนาย โง่ง และนางปิ่น มณีรัตน์ เมื่อโตขึ้น บิดามารดาส่งไปอยู่กับหลวงตาเน่า วัดใหญ่จอมปราสาท ตำบลท่าจีน อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อเรียนหนังสือ ขณะเรียนหนังสือ เด็กชายเม่งฮะตัั้งใจเรียนหนังสือ เอาใจใส่ต่อการเรียน เป็นคนว่านอนสอนง่าย และอกทน หลวงตาเน่าจึงรักใคร่มากกว่าศิษย์คนอื่น ๆ
เนื่องจากกุฏิของหลวงตาเน่าอยู่ใกล้กับป่าช้า และท่านเป็นพระที่มีระเบียบวินัย เคร่งครัด ต่อศาสนา ความกล้าหาญ ความมีระเบียบวินัย ดังนั้นความเลื่อมใสในศาสนาจึงถูกถ่ายทอดมายังสสามเณรเม่งฮะ ต่อมาสามเณรเม่งฮะลาสิกขาบทมาอยู่กับบิดา ด้วยเหตุที่สนใจในการศึกษา จึงได้เข้าเรียนหนังสือจีนที่โรงเรียนข้างบ้าน เรียนอยู่ปีเศษก็อ่านออกเขียนได้ บังเอิญโรงเรียนขาดผู้อุปการะจึงปิดการสอน นายเม่งฮ่ะเป็นคนแข็งแรง หลังออกจากโรงเรียน ก็ช่วยบิดาทำมาหากินเพื่อสร้างหลัก สร้างฐาน เมื่อนายเม่งฮ่ะอายุ 21 ปี บิดาจึงให้อุปสมบทตามประเพณี ณ วัดช่องลม แล้วย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดใหญ่จอมปราสาทกับหลวงตาเน่า
สมัยนั้นกฎหมายเลิกทาสยังใช้บังคับไม่ทั่วถึง
ตามหัวเมืองยังมีทาส พระเม่งฮ่ะได้ช่วยให้ทาสที่มีจิตใจเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้อุปสมบทหลายคน พระเม่งฮ่ะบวชอยู่ไม่นานก็ลาสิกขาบท อำเภอเมืองสมทุรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
พ.ศ. 2444
นายเม่งฮ่ะเห็นพื้นอุโบสถวัดกลางอ่างแก้วชำรุด จึงได้จัดการสร้างขึ้รมากใหม๋ขณะนั้นมี ท่านวินัยธรบัว เป็นเจ้าอาวาส นอกจากนี้ยังสร้างหอสวดมนต์ โดยมีนายแพร ร่วมบริจาคทรัพย์สมทบด้วย เมื่อ อายุ 25 ปี ได้เห็นวัดแหลมสุวรรณาราม ซึ่งตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 ตำบลท่าฉลอมยังไม่มีศาลาสำหรับพระลงฉันและทำพิธีต่าง ๆ จึงได้คิดสร้างขึ้น โดยมีนายเทศ ศิลาสุวรรณ ร่วมออกเงิน 600 บาท รวมค่าก่อสร้างทั้งหมด 2,000 บาทเศษ ยุคนั้นเป็นสมัยเงินแพง เงินมาค่ามาก มีเพียง 2-3 สตางค์ ก็สามารถซื้อ ก๋วยเตี๋ยวรับประทานได้ ฉะนั้นเงิน 2,000 บาท จึงนับว่าเป็นจำนวนมากที่เดียว
ระยะนี้ท่าฉลอมเจริญขึ้นมากเพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดและประกาศเป็นเขตสุขภิบาลตัวอย่างเป็นแห่งแรกในหัวเมือ ขณะที่พระองค์ประทับที่บ้าน ขุนวิจารณ์ นรกิจ (แดง มณีรัตน์) นายเม่งฮ่ะได้เข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด โดยนำเครื่องดื่มทูลเกล้า ฯ ถวายทำให้ นายเม่งฮะปราบปลื้มปีติ เป็นล้นพ้น
นายเม่งฮะมองเห็นความสำคัญของการศึกษา ประกอบกับคิดถึงตนเองที่เคยเรียนโรงเรียนวัด จึงได้ตั้งโรงเรียนสตรีขึ้นที่หมู่ 5 ตำบลท่าฉลอม สอนเฉพาะเด็กหญิงโดยเช่าบ้านนางทิพย์ ส่วนครูจ้างมาจากกรุงเทพ ฯ ต่อมาชาวบ้านขอให้รับเด็กชายเข้าเรียนด้วยจึงอนุโลม แต่ขอตั้่งชื่อโรงเรียนใหม่ว่า "โรงเรียนบำรุงวิทยา" ต่อมาได้ย้ายโรงเรียนมาตั้งที่หมู่ 4 และสร้างเป็นอาคารถาวร เด็กที่เข้ามาเรียนไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนแต่อย่างใด และยังรับอุปการะรวมเป็นเวลา 20 ปี เมื่อการศึกษาขยายถึงหัวเมือง ทางราชการจึงได้โอนกิจการโรงเรียนมาสร้างใหม่ที่ตำบลมหาชัย เป็นโรงเรียนประจำจังหวัด อยู่จนทุกวันนี้
ด้วยความเป็นผู้เสียสละ ไม่เห็นแก่ต้ว ทำงานจริงไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย ปนะกอบกับเป็นคนดี ไม่เล่นการพนัน ไม่เสพยาเสพติด ตลอดจนของมึนเมาทุกชนิด แม้กระทั่งยาดอง จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็น ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5 ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2464 ต่อมาในวันที่ 30 กรกฎาคม 2464 ได้รับการคัดเลือกเป็นกำนันตำบลท่าฉลอมอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ปีเดียวกันยังได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการสุขาภิบาลด้วย หลังได้รับการแต่งแต่งได้เริ่มพัฒนาท้องถิ่นทันที โดยสร้างสะพานข้ามคลองที่ชำรุด 3 สะพาน โดยใช้เงินส่วนตัวร่วมกับเงินที่ได้รับบริจาค จากพี่น้อง รวมประมาณ 2,000 บาท คือสะพานข้ามคลอง หมู่ที่1
![]() |
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช |
และสะพานบ้านนายทศ ศิลาสุวรรณ
![]() |
บ้านศิลาสุวรรณ บ้านไม้สักทอง |
พุทธศักราช 2467 จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้า ฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศวรเดช เสด็จมาตากอากาศทรงเห็นถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ จึงรับสั่งว่า
"สุขาตัวอย่างทำไมจึงปล่อยให้โทรมแบบนี้" เมื่อพระองค์ท่านเสด็จกลับนายเม่งฮะจึงได้ปรึกษาหารือกับเจ้าคุณสาคร ข้าหลวงประจำจังหวัด และสร้างถนนคอนกรีตสายแรก แม้ว่าจะมีหน้าที่ราชการมาก การบำรุงศาสนาก็ไม่ละเลย ได้ช่วยจัดระเบียบต่าง ๆ ในวัดแหลมสุวรรณาราม ตลอดจนบอกบุญให้ชาวบ้านช่วยจัดอาหารมาถวายพระเป็นประจำทุกวัน นอกจากนี้ยังวางโครงการและแผนผังของวัด โดยจัดขยายใหม่หมดเหลือไว้เฉพาะพระอุโบสถ ต่อมาพระอุโบสถชำรุด หลวงพินิจราชาวาท (จั๋ว) ขณะนั้นอุปสมบทอยู่ที่วัดนี้เป็นหัวหน้าสร้างขึ้นใหม่ โดยได้ช่วยเหลือและได้ช่วยออกเงินส่วนตัว สมทบด้วยจนสำเร็จ
พุทธศักราช 2472 ทองที่ปิดพระประธานในโบสถ์มัวหมองประจวบกับจะทำการปิดทองคำใหม่ใช้เงิน 400 บาท และยังได้ขอที่ดินจากขุนพินิจนรการ (ยี) และคุณหญิงมอญ รวมประมาณ 10 ไร่ ถวายเป็นที่ดินของวัด ได้ขุดคูคลองเป็นเขตไว้โดยรอบ และยังได้สร้างหอสวดมนต์และกึฏิขึ้นอีกโดยมีชาวบ้านและพระสงฆ์ช่วยสร้างด้วย
ด้วยการทำมาหากิน ท่านพบที่ว่างเปล่าห่างจากวัดบางหญ้าแพรกไปทางทิศตะวันตก 2-3 กิโลเมตร เนื้อที่ประมาณ 2000 ไร่ ควรทำนาเกลือจึงได้ขอจับจองไว้ เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2469 ได้เช่าเรือขุดคลองชลประทานมาขุดคลองเข้าไปยังนาเกลือยาว 4,760 เมตร กว้าง 10 เมตร ถึง 2 เมตร เสียค่าจ้าง 10,000 บาท เหตุด้วยมีที่ดินถึง 2,000 ไร่ จึงต้องใช้คนงานมากท ด้วยเหตุนี้จึงคิดทำนาเกลือจะทำให้ลูกบ้านมีงานทำเพื่อสร้างฐานะให้เป็นฝึกแผ่น ท่านยังเป็นผู้ออกทุนเป็นค่าใช้จ่าย และหาตลาดขายเกลือให้ หากขายไม่ได้ท่านก็รับชื้อไว้
เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2464 ได้รับพระราชทายบรรดาศักดิ์เป็นขุนสมุทรมณีรัตน์กรรมการพิเศษจังหวัดสมุทรสาคร ถือศักดินา 400 ไร่ กิจการนาเกลือเจริญอย่างรวดเร็ว ได้จำหน่ายเกลือทั้งในและต่างประเทศ คือ สิงคโปร์และฮ่องกง จึงตั้งนาเกลือเป็นบริษัท ชื่อบริษัท "นาเกลือขุนสมุทรมณีรัตน์" จำกัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น