วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560

จรรยาบรรณวิชาชีพครู และแนวคิดความสำคัญของจรรยาบรรณ





ภาพยนตร์สั้นสะท้อนจรรยาบรรณวิชาชีพครู

โดยครูจักรินทร์  ธนากรเกรียงไกร และคณะ

ปพ.บ. 59.6 ราชภัฎนครปฐม

ข้อบังคับคุรุสภา
ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556
จรรยาบรรณวิชาชีพครูมี 5 ด้าน 9 ข้อ


1.จรรยาบรรณต่อตนเอง

ข้อที่ 1 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ

2. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ

ข้อที่ 2 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ
และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ

3.จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ

ข้อที่ 3 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม
ให้กําลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
ข้อที่ 4 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัย
ที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ข้อที่ 5 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย
วาจา และจิตใจ
ข้อที่ 6 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทําตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย
สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ
ข้อที่ 7 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตําแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ

4.จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ

ข้อที่ 8 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์
โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

5.จรรยาบรรณต่อสังคม


ข้อที่ 9 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นําในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560

สาครบุรี ถิ่นนี้เมืองของฉัน






ชาวสมุทรสาครต้องภาคภูมิใจในชื่อของจังหวัด อันเป็นมงคลนามที่ได้รับพระราชทานมาจากในหลวง เมืองแห่งทะเลซึ่งตั้งอยู่ ณ ปากแม่น้ำอันอุดมบริบูรณ์ เมืองคนดี คนกล้า และมีความกตัญญูรู้คุณแผ่นดิน

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ





ที่มา :https://www.Youtube.com/watch?v=lHWV7WelBh4




วัดสำคัญในจังหวัดสมุทรสาคร

วัดในจังหวัดสมุทรสาคร และความสำคัญทางประวัติศาสตร์

-วัดโกรกกราก




สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2375  และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  เมื่อ พ.ศ.2423 ตรงกับกาลสมัยของรัชกาลที่ 2  ในปัจจุบันมีเนื้อที่ประมาณ  189 ไร่ 25 ตารางวา  ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน โดยมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ใส่แว่นตา เนื้อศิลาแลง สมัยสุโขทัย  ซึ่งประชาชนทั่วไปเรียกท่านว่า  หลวงพ่อปู่
               ในสมัยพระอธิการโต   อดีตเจ้าอาวาส ได้เกิดเพลิงไหม้เสนาสนะต่าง ๆ จนหมดสิ้น  เหลือแต่อุโบสถเท่านั้น  หลักฐานต่าง ๆ ของวัดจึงถูกเพลิงเผามอดไหม้ไปด้วย
                ตามประวัติเดิมบริเวณนี้เป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนชาวจีน สิ่งปลูกสร้างวัดที่น่าจะเป็นเครื่องยืนยันได้ก็คือ อุโบสถเป็นอุโบสถไม้สักหลังคาแอ่นคล้ายเก๋งจีน  เสาระเบียงเฉียงออกทั้งสี่ด้าน   บริเวณด้านหน้ามีเจดีย์สององค์  มีเรือสำเภาจีนสร้างด้วยคอนกรีต องค์ละ 1 ลำ ลักษณะคล้ายกับ เรือสำเภาจีนของวัดยานนาวา กรุงเทพ ฯ แต่เล็กกว่า กาลต่อมาได้สูญหายไปหมดแล้วเหลือแต่องค์เจดีย์
                ในจดหมายเหตุ การเสด็จประพาสต้น  ของสมเด็จกรมพระยาดำรงค์ราชานุภาพ ก็ปรากฏชื่อวัดโกรกกรากอยู่ด้วย  คือเมื่อวันที่ ๓๐ เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2448  เรือพระที่นั่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  จอดเทียบท่าวัดโกรกกราก  เมื่อครั้งเสด็จประพาสต้นที่ล่องเรือมาจากบ้านแหลม   จ.เพชรบุรี  แวะซื้ออาหารที่บ้านท่าฉลอม  และมาแวะทำอาหารที่ศาลาท่าน้ำ โดยท่านสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ขึ้นมาบนวัดเพื่อให้พระรดน้ำมนต์  เนื่องจากเมาเรือ
           
 
สำหรับองค์หลวงพ่อปู่ในอุโบสถนั้น  เคยประดิษฐานอยู่ที่วัดช่องสะเดา เป็นวัดร้างเก่าแก่  ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ซึ่งสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ปรักหักพังหมดแล้ว  ดังนั้นชาวรามัญบ้านกำพร้า  จึงได้อัญเชิญมาทางเรือสององค์        องค์หนึ่งเนื้อสำริด  อีกองค์หนึ่งเนื้อศิลาแลง  ล่องเรือมาตามแม่น้ำท่าจีน  พอเรือใกล้ถึงหน้าวัดโกรกกราก ได้เกิดลมพายุฝนตกหนัก  ล่องเรือต่อไปไม่ได้  จึงนำเรือมาจอดหลบลมฝนริมคลองข้างวัด  พอจอดเรือเรียบร้อย  ก็ช่วยกันยกพระศิลาแลงขึ้นมาบนฝั่งเพื่อไม่ให้ถูกน้ำฝนเซาะ  เมื่อลมฝนสงบแล้ว  จึงยกพระศิลาแลงลงเรือ  เพื่อจะล่องต่อไป  แต่    ปรากฏว่ายกไม่ขึ้น  ทำอย่างไรก็ยกไม่ขึ้น  และหนึ่งในจำนวนชาวรามัญบ้านกำพร้าที่อยู่ในเหตุการณ์  ได้อธิฐานว่าถ้าพระศิลาแลงจะอยู่วัดโกรกกราก  ก็ขออัญเชิญพระศิลาแลงไปประดิษฐานยังอุโบสถ  ปรากฏว่ายกขึ้น  นับแต่นั้นมาทางวัดจึงมีพระศิลาแลงเป็นพระประธานในอุโบสถตั้งแต่บัดนั้นจวบจนถึงปัจจุบัน


              ส่วนสาเหตุที่ต้องใส่แว่นดำนั้น  เนื่องจากครั้งหนึ่งได้เกิดโรคตาแดงระบาดไปทั่วบ้านโกรกกราก  การแพทย์ยังไม่เจริญ  รักษากันตามมีตามเกิดแต่ก็ไม่หาย  ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาองค์พระศิลาแลงกันมานาน  จึงได้พากันมาบนบานศาลกล่าว  ถ้าตาหายเจ็บหายแดง  จะนำแผ่นทองมาปิดที่ดวงตาขององค์พระศิลาแลง  ผล ปรากฏว่าตาหายแดงกันทั้งหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงได้นำแผ่นทองมาปิดที่ตาขององค์พระศิลาแลงเต็มไปหมด
             ครั้นพระครูธรรมสาคร ญาณวฒโน  หรือ  หลวงปู่กรับ  ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส มาพบเห็นเข้าจึงหาอุบายเพื่อที่จะไม่ให้ญาติโยมปิดทองที่ดวงตาองค์พระศิลาแลง  จึงได้นำแว่นตามาใส่ให้กับองค์พระศิลาแลง  หลังจากองค์พระศิลาแลงใส่แว่นตาแล้ว ชาวบ้านโกรกกรากและใกล้เคียง จึงได้นำแว่นตามาถวายแทนการปิดทองที่ดวงตา     จนถือปฏิบัติเป็นประเพณีตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา  และได้ขนานนามท่านว่า หลวงพ่อปู่”   เล่าสืบกันว่าในอดีต         บ้านท่าฉลอมและบ้านท่าจีน เป็นเมืองทำมาค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าของชาวจีนโพ้นทะเล สมัยนั้นใช้เรือสำเภาใบสองเสาบรรทุกสินค้าเข้ามา พอเรือแลนผ่านหน้าวัดโกรกกราก ก็จุดประทัดไหว้หลวงพ่อปู่ เพื่อขอพรให้สินค้าขายดี         พอสินค้าหมดเดินทางกลับก็จุดประทัดไหว้หลวงพ่อปู่ ขอให้เดินทางกลับถิ่นฐานด้วยความปลอดภัยซึ่งชาวจีนถือปฏิบัติเช่นนี้ตลอดการติดต่อค้าขายทางเรือ        
         ต่อมาเรือประมง เมื่อจะออกทะเลหาปลา ก็จุดประทัดไหว้หลวงพ่อปู่ตามแบบอย่างชาวจีนด้วย รวมถึงการค้าขายทางบก พ่อค้าแม่ค้าก็มักยึดถือตาม ๆ กันมา แม้แต่สาธุชนที่มาไหว้หลวงพ่อปู่ในปัจจุบันส่วนมากก็จุดประทัดถวายหลวงพ่อปู่ เป็นประจำทุก ๆ วันเช่นเดียวกัน ส่วนคนในพื้นที่ถ้าขับยวดยานพาหนะผ่านโบสถ์หลวงพ่อปู่ก็จะบีบแตรถวายสักการะองค์หลวงพ่อปู่ทุกครั้ง
            ซึ่งโบสถ์หลวงพ่อปู่จะเปิดให้ผู้มาทำการสักการะกราบไหว้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐ น. ๑๙.๐๐ น.  ส่วนในทุกวันพุธ และวันเสาร์จะมีการจัดตลาดนัดนานาชาติ เป็นประจำทุกสัปดาห์ โดยรายได้ทั้งหมดนำมาบูรณะปฏิสังขรณ์วัด
            ด้วยความอัศจรรย์ใจและศรัทธาในพุทธาภินิหาร  จึงพร้อมใจกันจัดงานนมัสการขึ้น  ตรงกับวันกลางเดือนยี่  (ขึ้น 14 ค่ำ  เดือน 2) ของทุกปีตลอดมา
          ครั้งหนึ่ง มีหมอไสยศาสตร์จอมขมังเวทย์  มองเห็นภายในองค์หลวงพ่อปู่เป็นทองคำเกิดความโลภอยากได้ทอง ในคืนหนึ่ง ได้เข้าไปลักลอบเจาะช่องท้องหลวงพ่อปู่ แต่ปรากฏว่าไม่พบทอง แต่พบอะไรไม่ทราบ ถึงกับเสียสติบ้าคลั่ง และตายในเวลาต่อมา
          พระครูธรรมสาคร (หลวงปู่กรับ ญาณวฑฺฒโน) ลงไปทำวัตรเข้าในโบสถ์ ได้พบเข้า จึงนำทองคลุกรักษ์อุดรอยเจาะนั้นไว้ และทำพิธีบวงสรวงสักการะ ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอ้าย (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑) และในวันนี้ของทุกปีจึงเป็นที่มาของ (วันไหว้หลวงพ่อปู่)  ในอดีตเรียกวันนี้ว่า วันแซยิดหลวงพ่อปู่
 และวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2527  สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์  ได้เสด็จเป็นการส่วนพระองค์  โดยทางเรือมานมัสการ องค์หลวงพ่อปู่”  และพักเยี่ยมข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนที่วัดนี้  นับเป็นมหามงคลแก่วัดโกรกกราก  และชาวหมู่บ้านตำบลโกรกกรากเป็นอย่างยิ่ง


 ที่มา: วัดโกรกกราก  ตั้งอยู่เลขที่  188  ถนนธรรมคุณากร  ตำบลโกรกกราก  อำเภอเมือง ฯ  จังหวัดสมุทรสาคร 


วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560

บุคคลสำคัญของจังหวัดสมุทรสาคร
ขุนสมุทรมณีรัตน์
ขุนสมุทรมณีรัตน์ เดิมชื่อ เม่งฮะ นามสกุล มณีรัตน์ 
เกิดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พุุทธศักราช 2422 
ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ปีเถาะ
เป็นบุตรของนาย โง่ง และนางปิ่น มณีรัตน์ เมื่อโตขึ้น บิดามารดาส่งไปอยู่กับหลวงตาเน่า วัดใหญ่จอมปราสาท ตำบลท่าจีน อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อเรียนหนังสือ ขณะเรียนหนังสือ เด็กชายเม่งฮะตัั้งใจเรียนหนังสือ เอาใจใส่ต่อการเรียน เป็นคนว่านอนสอนง่าย และอกทน หลวงตาเน่าจึงรักใคร่มากกว่าศิษย์คนอื่น ๆ 
        เนื่องจากกุฏิของหลวงตาเน่าอยู่ใกล้กับป่าช้า และท่านเป็นพระที่มีระเบียบวินัย  เคร่งครัด ต่อศาสนา ความกล้าหาญ ความมีระเบียบวินัย ดังนั้นความเลื่อมใสในศาสนาจึงถูกถ่ายทอดมายังสสามเณรเม่งฮะ ต่อมาสามเณรเม่งฮะลาสิกขาบทมาอยู่กับบิดา ด้วยเหตุที่สนใจในการศึกษา จึงได้เข้าเรียนหนังสือจีนที่โรงเรียนข้างบ้าน  เรียนอยู่ปีเศษก็อ่านออกเขียนได้  บังเอิญโรงเรียนขาดผู้อุปการะจึงปิดการสอน นายเม่งฮ่ะเป็นคนแข็งแรง หลังออกจากโรงเรียน ก็ช่วยบิดาทำมาหากินเพื่อสร้างหลัก สร้างฐาน  เมื่อนายเม่งฮ่ะอายุ 21 ปี บิดาจึงให้อุปสมบทตามประเพณี ณ วัดช่องลม แล้วย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดใหญ่จอมปราสาทกับหลวงตาเน่า


สมัยนั้นกฎหมายเลิกทาสยังใช้บังคับไม่ทั่วถึง
ตามหัวเมืองยังมีทาส พระเม่งฮ่ะได้ช่วยให้ทาสที่มีจิตใจเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้อุปสมบทหลายคน พระเม่งฮ่ะบวชอยู่ไม่นานก็ลาสิกขาบท อำเภอเมืองสมทุรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 

พ.ศ. 2444
นายเม่งฮ่ะเห็นพื้นอุโบสถวัดกลางอ่างแก้วชำรุด  จึงได้จัดการสร้างขึ้รมากใหม๋ขณะนั้นมี ท่านวินัยธรบัว เป็นเจ้าอาวาส นอกจากนี้ยังสร้างหอสวดมนต์ โดยมีนายแพร ร่วมบริจาคทรัพย์สมทบด้วย  เมื่อ อายุ 25 ปี ได้เห็นวัดแหลมสุวรรณาราม ซึ่งตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 ตำบลท่าฉลอมยังไม่มีศาลาสำหรับพระลงฉันและทำพิธีต่าง ๆ จึงได้คิดสร้างขึ้น  โดยมีนายเทศ ศิลาสุวรรณ  ร่วมออกเงิน  600 บาท รวมค่าก่อสร้างทั้งหมด 2,000 บาทเศษ ยุคนั้นเป็นสมัยเงินแพง เงินมาค่ามาก มีเพียง 2-3 สตางค์ ก็สามารถซื้อ     ก๋วยเตี๋ยวรับประทานได้ ฉะนั้นเงิน 2,000 บาท จึงนับว่าเป็นจำนวนมากที่เดียว

ระยะนี้ท่าฉลอมเจริญขึ้นมากเพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดและประกาศเป็นเขตสุขภิบาลตัวอย่างเป็นแห่งแรกในหัวเมือ ขณะที่พระองค์ประทับที่บ้าน ขุนวิจารณ์  นรกิจ (แดง มณีรัตน์) นายเม่งฮ่ะได้เข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด โดยนำเครื่องดื่มทูลเกล้า ฯ ถวายทำให้  นายเม่งฮะปราบปลื้มปีติ เป็นล้นพ้น

นายเม่งฮะมองเห็นความสำคัญของการศึกษา ประกอบกับคิดถึงตนเองที่เคยเรียนโรงเรียนวัด จึงได้ตั้งโรงเรียนสตรีขึ้นที่หมู่ 5 ตำบลท่าฉลอม สอนเฉพาะเด็กหญิงโดยเช่าบ้านนางทิพย์ ส่วนครูจ้างมาจากกรุงเทพ ฯ ต่อมาชาวบ้านขอให้รับเด็กชายเข้าเรียนด้วยจึงอนุโลม แต่ขอตั้่งชื่อโรงเรียนใหม่ว่า "โรงเรียนบำรุงวิทยา"    ต่อมาได้ย้ายโรงเรียนมาตั้งที่หมู่ 4  และสร้างเป็นอาคารถาวร เด็กที่เข้ามาเรียนไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนแต่อย่างใด และยังรับอุปการะรวมเป็นเวลา  20 ปี เมื่อการศึกษาขยายถึงหัวเมือง ทางราชการจึงได้โอนกิจการโรงเรียนมาสร้างใหม่ที่ตำบลมหาชัย  เป็นโรงเรียนประจำจังหวัด อยู่จนทุกวันนี้


ด้วยความเป็นผู้เสียสละ ไม่เห็นแก่ต้ว ทำงานจริงไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย ปนะกอบกับเป็นคนดี ไม่เล่นการพนัน ไม่เสพยาเสพติด ตลอดจนของมึนเมาทุกชนิด แม้กระทั่งยาดอง จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็น ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5 ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2464 ต่อมาในวันที่ 30 กรกฎาคม 2464 ได้รับการคัดเลือกเป็นกำนันตำบลท่าฉลอมอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ปีเดียวกันยังได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการสุขาภิบาลด้วย  หลังได้รับการแต่งแต่งได้เริ่มพัฒนาท้องถิ่นทันที โดยสร้างสะพานข้ามคลองที่ชำรุด  3 สะพาน โดยใช้เงินส่วนตัวร่วมกับเงินที่ได้รับบริจาค จากพี่น้อง รวมประมาณ 2,000 บาท คือสะพานข้ามคลอง หมู่ที่1  
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
สะพานข้างบ้านขุนวิจารณ์นรกิจ 
และสะพานบ้านนายทศ ศิลาสุวรรณ
บ้านศิลาสุวรรณ บ้านไม้สักทอง

















พุทธศักราช 2467 จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้า ฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศวรเดช เสด็จมาตากอากาศทรงเห็นถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ จึงรับสั่งว่า
"สุขาตัวอย่างทำไมจึงปล่อยให้โทรมแบบนี้" เมื่อพระองค์ท่านเสด็จกลับนายเม่งฮะจึงได้ปรึกษาหารือกับเจ้าคุณสาคร ข้าหลวงประจำจังหวัด และสร้างถนนคอนกรีตสายแรก แม้ว่าจะมีหน้าที่ราชการมาก การบำรุงศาสนาก็ไม่ละเลย  ได้ช่วยจัดระเบียบต่าง ๆ ในวัดแหลมสุวรรณาราม ตลอดจนบอกบุญให้ชาวบ้านช่วยจัดอาหารมาถวายพระเป็นประจำทุกวัน นอกจากนี้ยังวางโครงการและแผนผังของวัด โดยจัดขยายใหม่หมดเหลือไว้เฉพาะพระอุโบสถ ต่อมาพระอุโบสถชำรุด หลวงพินิจราชาวาท (จั๋ว) ขณะนั้นอุปสมบทอยู่ที่วัดนี้เป็นหัวหน้าสร้างขึ้นใหม่ โดยได้ช่วยเหลือและได้ช่วยออกเงินส่วนตัว สมทบด้วยจนสำเร็จ

พุทธศักราช 2472 ทองที่ปิดพระประธานในโบสถ์มัวหมองประจวบกับจะทำการปิดทองคำใหม่ใช้เงิน 400 บาท และยังได้ขอที่ดินจากขุนพินิจนรการ (ยี) และคุณหญิงมอญ รวมประมาณ 10 ไร่ ถวายเป็นที่ดินของวัด ได้ขุดคูคลองเป็นเขตไว้โดยรอบ และยังได้สร้างหอสวดมนต์และกึฏิขึ้นอีกโดยมีชาวบ้านและพระสงฆ์ช่วยสร้างด้วย

ด้วยการทำมาหากิน ท่านพบที่ว่างเปล่าห่างจากวัดบางหญ้าแพรกไปทางทิศตะวันตก 2-3 กิโลเมตร เนื้อที่ประมาณ 2000 ไร่ ควรทำนาเกลือจึงได้ขอจับจองไว้ เมื่อวันที่ 10 มกราคม  2469 ได้เช่าเรือขุดคลองชลประทานมาขุดคลองเข้าไปยังนาเกลือยาว 4,760  เมตร กว้าง 10 เมตร ถึง 2  เมตร เสียค่าจ้าง 10,000 บาท เหตุด้วยมีที่ดินถึง 2,000 ไร่ จึงต้องใช้คนงานมากท ด้วยเหตุนี้จึงคิดทำนาเกลือจะทำให้ลูกบ้านมีงานทำเพื่อสร้างฐานะให้เป็นฝึกแผ่น ท่านยังเป็นผู้ออกทุนเป็นค่าใช้จ่าย และหาตลาดขายเกลือให้ หากขายไม่ได้ท่านก็รับชื้อไว้

เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2464 ได้รับพระราชทายบรรดาศักดิ์เป็นขุนสมุทรมณีรัตน์กรรมการพิเศษจังหวัดสมุทรสาคร ถือศักดินา 400  ไร่ กิจการนาเกลือเจริญอย่างรวดเร็ว ได้จำหน่ายเกลือทั้งในและต่างประเทศ คือ สิงคโปร์และฮ่องกง จึงตั้งนาเกลือเป็นบริษัท ชื่อบริษัท "นาเกลือขุนสมุทรมณีรัตน์" จำกัด